การ ประสม คำ

การประสมคำ คือ การนำส่วนประกอบของคำ ได้แก่ พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์มาประสมกันเป็นคำ การประสมคำ มี ๑ ลักษณะ ได้แก่ ๑. การประสม ๓ ส่วน หมายถึง การประสมคำโดยมีพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์มาประสมกัน เช่น น้ำ ปู่ โก้เก๋ ๒. การประสม ๔ ส่วน หมายถึง การประสมคำโดยมีพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และตัวสะกดมาประสมกัน เช่น นิ้ว มัด โทษ ๓. การประสม ๔ ส่วนพิเศษ หมายถึง การประสมคำโดยมีพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และอักษรการันต์มาประสมกัน เช่น เล่ห์ เคราะห์ โชว์ ๔. การประสม ๕ ส่วน หมายถึง การประสมคำโดยมีพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ตัวสะกด และอักษรการันต์มาประสมกัน เช่น แพทย์ ศัพท์ นิพนธ์ พิมพ์

คำประสม - ห้องเรียนครูหยุ

ลักษณะสำคัญของคำประสม ๑.. เกิดจากคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไปมาประสมกัน แล้วเกิดความหมายใหม่แต่ยังมีเค้าความหมายเดิมอยู่เช่น พ่อตา หมายถึง พ่อของภรรยา พ่อ หมายถึง สามีของแม่ ตา หมายถึง พ่อของแม่ ลูกน้ำ หมายถึง ลูกของยุง ลูก หมายถึง บุตร น้ำ หมายถึง ของเหลว ๒. สามารถแยกเป็นคำๆได้ และคำที่แยกได้แต่ละคำมีความหมายต่างกัน เมื่อนำมารวมกันความหมายต่างจากคำเดิม เช่น แม่ หมายถึง หญิงผู้ให้กำเนิด บ้าน หมายถึงที่อยู่อาศัย แม่บ้าน หมายถึง หญิงผู้จัดการงานในบ้าน คอ หมายถึง ส่วนของร่างกายที่ต่อศีรษะกับตัว ห่าน หมายถึง ชื่อนกจำพวกเป็ด คอยาว คอห่าน หมายถึง ส่วนของโถส้วม ๓. คำที่มาประสมกันจะเป็นคำมูลในภาษาใดก็ได้ เช่น เข็มทิศ (ไทย + สันสกฤต) รถเก๋ง (บาลี + จีน) ห้องโชว์ (ไทย + อังกฤษ) ราชวัง (บาลี + ไทย) ปักษ์ใต้ (สันสกฤต + ไทย) โปรแกรมหนัง (อังกฤษ + ไทย) ๔. ประสมที่เกิดจากคำมูล ซึ่งมีลักษณะเป็นการย่อคำหลาย ๆ คำ ส่วนมากมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า นัก ชาว ช่าง หมอ การ ความ ผู้ ของ เครื่อง เช่น นัก นักร้อง นักเขียน นักเรียน นักสู้ ฯลฯ ชาว ชาวบ้าน ชาวเมือง ชาวนา ชาววัง ฯลฯ ช่าง ช่างไม้ ช่างเสริมสวย ช่างไฟฟ้า ฯลฯ หมอ หมอดู หมอความ หมอผี หมอนวด ฯลฯ การ การบ้าน การเมือง การไฟฟ้า การคลัง ฯลฯ ความ ความดี ความชั่ว ความสุข ความทุกข์ ฯลฯ ผู้ ผู้ใหญ่ ผู้ดี ผู้อำนวยการ ผู้น้อย ผู้ร้าย ฯลฯ ของ ของใช้ ของไหว้ ของเล่น ของชำร่วย ฯลฯ เครื่อง เครื่องหมาย เครื่องบิน เครื่องมือ ฯลฯ ที่ ที่นอน ที่ดิน ที่เขี่ยบุหรี่ ที่เที่ยว ที่พัก ฯลฯ ๕.

เขียนคำประสมและหัดอ่าน : แบบฝึกหัดอนุบาล 3

การประสมคําแบบสี่ส่วนพิเศษ

การประสมคําภาษาอังกฤษ

  • คำประสม - ห้องเรียนครูหยุ
  • ดาวน์โหลดคลิป tiktok แบบไม่มีลายน้ำ
  • การประสมคํา คือ
  • ราคา toyota vios 2010 1.5 es ราคา ในไทย - ข่าวรถยนต์ล่าสุด รีวิว คู่มือซื้อรถ รูปภาพและอื่น ๆ
  • ฝึกประสมคำ ชุดที่ 1 แผ่น 4
  • ดู harry potter 2
  • Motu 828 mk2 ราคา
  • คำประสม - AmornthepWep
  • เทคนิคการสอนประสมคำ Phonics – แหล่งรวมการเรียนรู้ phonics สำหรับเด็ก | Phonics for kid
  • Kingdom season 1 ซับไทย episode
  • การประสมอักษร - หนึ่งสยามฟาร์มควายไทย
  • เอกสารทำวีซ่าประเทศจีน

คำประสม | ภาษาไทยไม่ยากอย่างที่คิด...

คำกริยาประสมกับคำวิเศษณ์ เช่น ลงแดง ยินดี ถือดี ยิ้มหวาน สายหยุด ดูถูก ผัดเผ็ด ต้มจืด บานเย็น บานเช้า ๘. คำวิเศษณ์ประสมกับคำวิเศษณ์ เช่น หวานเย็น เขียนหวาน เปรี้ยวหวาน คำขำ คมขำ คมคาย การพิจารณาคำประสม คำประสมมีลักษณะเป็นกลุ่มคำหรือวลี การพิจารณากลุ่มคำใด ๆ ว่าเป็นคำประสมหรือไม่นั้น สามารถพิจารณาได้จากลักษณะต่อไปนี้ ๑. พิจารณาลักษณะการเรียงคำและความหมาย คำประสมจะเรียงคำหลักไว้ข้างหน้า คำที่เป็นเชิงขยายจะเรียงไว้ข้างหน้า ความหมายที่เกิดขึ้นจะเป็นความหมายใหม่ โดยมีเค้าความหมายเดิมอยู่ เช่น ลูกน้ำ หมายถึง ลูกยุง เป็นคำประสม ไฟฟ้า หมายถึง พลังงานชนิดหนึ่ง เป็นคำประสม เบี้ยล่าง หมายถึง เสียเปรียบ เป็นคำประสม ยิงฟัน หมายถึง การเผยอริมฝีปากให้เห็นฟัน เป็นคำประสม แต่ถ้าหมายถึงการทำร้ายหรือยิงฟัน ( ฟัน = อวัยวะ) ก็ไม่เป็นคำประสม เป็นเพียงวลีธรรมดา เพราะถึงแม้จะเรียงคำเหมือนกันก็ตาม แต่ความหมายไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป เว้นจังหวะ หมายถึง การหยุดไว้ระยะ ไม่เป็นคำประสม คนหนึ่ง หมายถึง คน ๆ เดียว ไม่เป็นคำประสม ๒. พิจารณาจากลักษณนาม ที่ใช้กับคำที่สงสัยว่าจะเป็นคำประสมหรือไม่โดยลองแยกดูว่า คำลักษณนามนั้นเป็นลักษณนามของทั้งสองคำร่วมกันหรือเป็นของคำหนึ่งคำใดโดยเฉพาะ ถ้าเป็นลักษณนามของทั้งสองคำร่วมกัน กลุ่มคำนั้นก็เป็นคำประสม แต่ถ้าเป็นของคำหนึ่งคำใดโดยเฉพาะ กลุ่มคำนั้นก็ไม่เป็นคำประสมเช่น ลูกตา คน นี้เสียแล้ว คำว่า ลูกตา ไม่เป็นคำประสม พิจารณาจากลักษณนาม " คน " เป็นลักษณะนามของตา ซึ่งเป็นคน ลูกตา ข้าง นี้เสียแล้วคำว่าลูกตา เป็นคำประสม พิจารณาจากลักษณะนาม " ข้าง " เป็นลักษณะนามลูกตา ( อวัยวะ) รถเจ๊ก คน นี้เก่ามากคำว่ารถเจ๊ก ไม่เป็นคำประสม รถเจ๊ก คันนี้เก่ามาก คำว่ารถเจ๊ก เป็นคำประสม ๓.

แจกฟรี สื่อการสอน วิชาภาษาไทย ใบงานการประสมคำ - คลังสื่อการสอน

๒ คำประสมที่เป็นคำนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ ไม่จำเป็นว่าคำแรกจะต้องเป็นคำนาม คำกริยา และวิเศษณ์เสมอไป เช่น คำแรกเป็นคำกริยา คำตามเป็นคำนาม รอเท้า บังตา ยกทรง คำแรกเป็นคำกริยา คำตามเป็นคำกริยา ต้มยำ กันสาด ห่อหมก ๓. ๓ คำประสมจำนวนมากมีคำแรกซ้ำกันถือเป็นคำสั่ง คำตั้งเหล่านี้มีคำต่าง ๆ มาช่วยเสริมความหมาย เช่น อาหาร ขนม ขนมหวาน ขนมถ้วยฟู ขนมครก ขนมไข่ แกง แกงส้ม แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน ไข่ ไข่เค็ม ไข่ดาว ไข่ยัดไส้ ไข่กระทะ กิจกรรม ทำ ทำครัว ทำบุญ ทำการบ้าน ทำเวร ทำงาน วิ่ง วิ่งเปรี้ยว วิ่งผลัด วิ่งเร็ว วิ่งทน วิ่งวิบาก จัด จัดซื้อ จัดการ จัดสรร จัดจ้าง จัดทำ อุปนิสัยหรือลักษณะ หัว หัวหมอ หัวขี้เลื่อย หัวขโมย หัวก้าวหน้า ขี้ ขี้กลัว ขี้ขลาด ขี้คุย ขี้ขโมย ขี้โมโห ใจ ใจแคบ ใจใหญ่ ใจร้อน ใจซื่อ ใจร้าย ๓. ๔ คำประสมจำนวนมากมักมีความหมายในเชิงอุปมา เช่น หัวอ่อน หมายถึง ว่าง่าย สอนง่าย ปากมาก หมายถึง ชอบว่าคนอื่นซ้ำ ๆ ซาก ๆ หักหนเา หมายถึง ทำหรือพูดโดยเจตนาให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความอับอาย ไก่อ่อน หมายถึง คนที่มีประสบการณ์น้อย ยังรู้ไม่เท่าทันเลห์เหลี่ยมของคนอื่น ตีนแมว หมายถึง ผู้ร้าย ขโมยที่ย่องได้เบาราวกับแมว หัวเรือใหญ่ หมายถึง ผู้จัดการทุกอย่างให้ผู้อื่นด้วยตนเอง หน้าบาง หมายถึง มีความรู้สึกไวต่อสิ่งที่น่าละอาย ตาขาว หมายถึง แสดงอาการขลาดกลัว ปากตลาด หมายถึง ถ้วยคำที่โจษ หรือเล่าลือกัน หน้าม้า หมายถึง ผู้ที่ทำเลห์เหลี่ยมเป็นเหมือนคนซื่อเพื่อจูงใจให้คนอื่นหลงเชื่อ ๓.

การประสมคําภาษาอังกฤษ

คำประสมที่นำคำมูลที่มีเนื้อความต่างๆ มาประสมกัน แล้วได้ใจความเป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่น " หาง " หมายถึง ส่วนท้ายของสัตว์ กับ " เสือ " หมายถึง สัตว์ชนิดหนึ่ง รวมกันเป็นคำประสมว่า " หางเสือ " แปลว่า เครื่องถือท้ายเรือ และคำอื่นๆ เช่น ลูกน้ำ แม่น้ำ แสงอาทิตย์ (งู) เป็นต้น คำเหล่านี้มีความหมายต่างกับคำมูลเดิมทั้งนั้น คำประสมพวกนี้ถึงแม้ว่ามีใจความแปลกออกไปจากคำมูลเดิมก็ดี แต่ก็ต้องอาศัยเค้าความหมายของคำมูลเดิมเป็นหลักเหมือนกัน ถ้าเป็นคำที่ไม่มีเค้าความเนื่องจากคำมูลเลย แต่เผอิญมาแยกออกเป็นคำมูลได้นับว่าเป็นคำประสมจะนับเป็นคำมูล ๒. คำประสมที่เอาคำมูลหลายคำซึ่งทุกๆ คำก็มีเนื้อความคงที่ แต่เมื่อเอามารวมกันเข้าเป็นคำเดียวก็มี เนื้อความผิดจากรูปเดิมไป ซึ่งถ้าแยกออกเป็นคำๆ แล้วจะไม่ได้ความดังที่ประสมกันอยู่นั้นเลย ๓. คำประสมที่เอาคำมูลมีรูปหรือเนื้อความซ้ำกันมารวมกันเป็นคำเดียว คำเหล่านี้บางทีก็มีเนื้อความคล้ายกับคำมูลเดิม บางทีก็เพี้ยนออกไปบ้างเล็กน้อย และอีกอย่างหนึ่งใช้คำมูลรูปไม่เหมือนกัน แต่เนื้อความอย่างเดียวกัน รวมกันเข้าเป็นคำประสมซึ่งมีความหมายต่างออกไปโดยมาก ๔. คำประสมที่ย่อออกมาจากใจความมาก คำพวกนี้มีลักษณะคล้ายกับคำสมาสเพราะเป็นคำย่ออย่างเดียวกันรวมทั้งคำอาการนามที่มีคำว่าการหรือความนำหน้า

คำประสม คือ คำที่เกิดจากการเอาคำมูลที่มีความหมายต่างกันตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมารวมกันเข้าเป็นคำเดียวกลายเป็นคำใหม่ มีความหมายใหม่ แต่ยังมีเค้าความหมายเดิมอยู่ เช่น ลูกเสือ ( นักเรียนที่แต่งเครื่องแบบ) แสงอาทิตย์ ( งูชนิดหนึ่งมีเกล็ดสะท้อนแสงอาทิตย์ได้ซึ่งแปลกกว่างูชนิดอื่น ๆ)หางเสือ ( ที่บังคับทิศทางเรือ) แต่ถ้าลูกเสือ หมายถึง ลูกของเสือ แสงอาทิตย์ หมายถึง แสงของดวงอาทิตย์ หางเสือ หมายถึง หางของเสือ อย่างนี้ไม่จัดเป็นคำประสม เพราะไม่เกิดความหมายใหม่ขึ้น จัดเป็นวลีที่เกิดจากการเรียงคำธรรมดาเท่านั้น การเกิดคำประสมในภาษาไทย คำประสมภาษาไทยเกิดขึ้นได้หลายกรณี ดังนี้ ๑. เกิดจากคำไทยประสมกับคำไทย เช่น ไฟ + ฟ้า = ไฟฟ้า ตาย + ใจ = ตายใจ ผัด + เปรี้ยว + หวาน = ผัดเปรี้ยวหวาน ๒. เกิดจากคำไทยประสมกับคำต่างประเทศ เช่น ไทย + บาลี หลัก ( ไทย) + ฐาน ( บาลี) – หลักฐาน ราช ( บาลี) + วัง ( ไทย) – ราชวัง ไทย + สันสฤต ทุน ( ไทย) + ทรัพย์ ( สันสฤต) – ทุนทรัพย์ ตัก ( ไทย) + บาตร ( สันสฤต) – ตักบาตร ไทย + เขมร นา ( ไทย) + ดำ ( เขมร = ปลูก) – นาดำ นา ( ไทย) + ปรัง ( เขมร = ฤดูแล้ง) – นาปรัง จีน + ไทย หวย ( จีน) + ใต้ดิน ( ไทย) – หวยใต้ดิน ผ้า ( ไทย) + ผวย ( จีน) – ผ้าผวย ไทย + อังกฤษ เหยือก ( อังกฤษ – jug) + น้ำ ( ไทย) – เหยือกน้ำ พวง (ไทย) + หรีด ( อังกฤษ – wreath) – พวงหรีด ๓.